ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้น
เพื่อนำมาเสริมความสามารถของมนุษย์ในด้านการับรู้ การจำ การคำนวณ
การเปรียบเทียบตัดสินใจ และการแสดงออก
ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ
ให้สามารถทำงานเป็นระบบสนองความต้องการของมนุษย์
การประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยอุปกรณ์รับเข้า
(input device) เพื่อรับข้อมูลและคำสั่งจากผู้ใช้ภายนอกเข้าไปเก็บอยู่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำหลัก
(main memory) คำสั่งที่เก็บในส่วนความจำหลักจะถูกนำไปตีความ
และสั่งทำงานที่หน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ซีพียู
ซึ่งเป็นหัวใจของการทำงานในคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำหลัก
ผลจากการคำนวณหรือประมวลผลจะนำกลับไปเก็บยังหน่วยความจำหลัก
และพร้อมที่จะนำออกแสดงที่อุปกรณืส่งออก (output device) กลับไปสู่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อไป
ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ซีพียู หน่วยความจำ อุปกรณ์รับเข้า
และอุปกรณ์ส่งออก
คอมพิวเตอร์นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 4 ส่วนด้วยกัน เริ่มจาก
1. โปรเซสเซอร์ (Processor) นั่นก็คือหน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู (CPU) นั่นเอง หรือเรียกว่าซิป ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์
เพราะว่ามีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา
ซึ่งซีพียูนั้นมีรุ่นต่างๆ ออกมาวางขายตามท้องตลาดมากมาย
ซึ่งแต่ละรุ่นก็ราคาแตกต่างกันออกไป
2. หน่วยความจำ (Memory) หรือ RAM นั่นเอง ซึ่ง RAM นั้นเป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลต่างๆ
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรองนั่นเอง ก็คือจะเก็บข้อมูลชั่วคราว
ซึ่งหน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย
3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output) ก็คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น
เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ Output ก็ได้แก่พวก เครื่องพิมพ์ จอภาพ
4. สื่อจัดเก็บข้อมูล
(Storage) นั่นก็คือสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
เช่น ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ คือ ส่วนของฮาร์ดแวร์ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 5 หน่วย คือ
1. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit :CPU)2. หน่วยความจำหลัก (MainMemory)
3. หน่วยความจำสำรอง (External Storage)
4. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
5. หน่วยส่งออกข้อมูล (Output Unit)
3. หน่วยความจำสำรอง (External Storage)
4. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
5. หน่วยส่งออกข้อมูล (Output Unit)
1. หน่วยประมวลผลกลาง (หรือ Processor)
หน่วยประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียกว่า หน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียู มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งเป็นศูนย์ควบคุมการทำงาน การติดต่อสื่อสารระหว่างองค์ประกอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกได้ว่าซีพียูนี้เปรียบเหมือนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอยควบคุมการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์
2. หน่วยความจำหลัก
หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่จะให้ซีพียู ใช้งานได้หน่วยความจำหลักที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ แรม กับรอม
รอม เป็นหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่ง หน่วยความจำประเภทนี้มีไว้เพื่อบรรจุโปรแกรมสำคัญบางอย่าง เพื่อว่าเมื่อทำการเปิดเครื่อง ซีพียูจะเริ่มทำงานได้ทันที ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้ว ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลใดๆ ลงไปได้ ซึ่งข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอมนี้ จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่อง ข้อมูลหรือโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบแต่อย่างใด
3. หน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำสำรอง มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ไว้ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ หากถูกเรียกใช้งานเมื่อใด ก็ถ่ายข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองมาไว้ที่หน่วยความจำหลัก
นั่นคือ แรม เพื่อให้หน่วยประมวลผลทำงานติ่ไป หน่วยความจำประเภทนี้หากมีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟดับ ข้อมูลก็จะยังคงอยู่ ไม่สูญหายไปไหน หน่วยความจำสำรองที่ใช้กันในระบบคอมพิวเตอร์
มีอยู่หลายประเภท เช่น
นั่นคือ แรม เพื่อให้หน่วยประมวลผลทำงานติ่ไป หน่วยความจำประเภทนี้หากมีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟดับ ข้อมูลก็จะยังคงอยู่ ไม่สูญหายไปไหน หน่วยความจำสำรองที่ใช้กันในระบบคอมพิวเตอร์
มีอยู่หลายประเภท เช่น
– แผ่นบันทึก (หรือ Floppy Disk) แผ่นบันทึกข้อมูลในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว ตัวแผ่นบันทึกเป็นแผ่นบาง ฉาบผิวด้วยสารแม่เหล็กอยู่ในกรอบพลาสติกแข็ง เพื่อป้องกันการขีดข่วน สามารถบรรจุข้อมูลได้ 1.44 เมกะไบต์ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้แล้ว เนื่องจากบรรจุข้อมูลได้น้อย และชำรุดง่าย
– ฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งที่เคลือบสารแม่แหล็กหลายแผ่นเรียงซ้อนกัน หัวอ่านของเครื่องขับจะมีหลายหัว ในขณะที่แผ่นบันทึกแต่ละแผ่นบันทึกหมุน หัวอ่านจะเคลื่อนที่เข้าออกเพื่ออ่านข้อมูลที่เก็บบนพื้นผิวแผ่น การเก็บข้อมูลในแต่ละแผ่นจะเป็นวง เรียกแต่ละวงของทุกแผ่นว่า ไซลินเดอร์ แต่ละไซลินเดอร์จะแบ่งเป็นเซกเตอร์ แต่ละเซกเตอร์แบ่งข้อมูลเป็นชุดๆ ฮาร์ดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีความจุสูงมาก มีความจุเป็นกิกะไบต์ เช่น 320 กิกะไบต์ การอ่านและเขียนข้อมูลจะกระทำได้เร็วมาก
– แผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี ในปัจจุบันแผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี มีผู้ใช้อย่างแพร่หลาย
เนื่องจากมีราคาถูก สามารถเก็บข้อมูลได้มาก ซีดี 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ 750 เมกะไบต์
และแผ่นดีวีดี 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 4.7 กิกะไบต์
เนื่องจากมีราคาถูก สามารถเก็บข้อมูลได้มาก ซีดี 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ 750 เมกะไบต์
และแผ่นดีวีดี 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 4.7 กิกะไบต์
– หน่วยความจำแบบแฟรช (หรือ Flash Memory) เป็นหน่วยความจำประเภทรอม ซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีของ รอม และแรม มารวมกัน ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือสามารถเก็บและลบข้อมูลได้ตามต้องการ และถ่ายโอนข้อมูลได้รวดเร็ว ปัจจุบันมีผู้หันมาใช้หน่วยความจำแบบแฟรชกันมากขึ้น เพราะมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก สามารถเก็บข้อมูลได้มาก เช่น 4 กิกะไบต์ , 8 กิกะไบต์
4. หน่วยรับข้อมูล
หน่วยรับข้อมูล เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก และใช้ในการประมวลผล อุปกรณ์รับข้อมูลมีหลายประเภท เช่น
- แป้นพิมพ์ (หรือ Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากการกดปุ่มบนแป้นพิมพ์ แล้วส่งรหัสให้กับคอมพิวเตอร์
– เมาส์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล โดยผู้ใช้สามารถเลื่อนตัวชี้เมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพแล้วคลิกปุ่มเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์
– เครื่องกราดตรวจ (หรือ Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้เทคโนโลยีของการผ่านแสงเพื่อทำการอ่านรหัสสัญลักษณ์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลต่อไป
- จอสัมผัส (หรือ Touch Screen) สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูลเข้า และส่งออกข้อมูลออกในเวลาเดียวกัน จอภาพสามารถรับข้อมูลไปประมวลผลโดยการสัมผัสบนบริเวณจอภาพ บริเวณจอภาพประกอบไปด้วยตาข่ายของลำแสงอินฟาเรด เมื่อมีวัตถุมาสัมผัสบนจอภาพ จะมีการส่งสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งบนจอภาพให้กับโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ได้
5. หน่วยส่งออกข้อมูล
หน่วยส่งออกข้อมูล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลออกมา เช่น
– จอภาพ (หรือ Monitor) การส่งออกของข้อมูลจะปรากฏบนจอภาพ ซึ่งแสดงได้ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การแสดงผลบนจอภาพจะแสดงด้วยจุดเล็กๆ ตามแนวนอนและแนวตั้ง จอภาพมีขนาดที่แตกต่างกันเช่น 17 นิ้ว 20 นิ้ว เป็นต้น
– จอภาพ (หรือ Monitor) การส่งออกของข้อมูลจะปรากฏบนจอภาพ ซึ่งแสดงได้ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การแสดงผลบนจอภาพจะแสดงด้วยจุดเล็กๆ ตามแนวนอนและแนวตั้ง จอภาพมีขนาดที่แตกต่างกันเช่น 17 นิ้ว 20 นิ้ว เป็นต้น
– เครื่องพิมพ์ (หรือ Printer) เป็นอุปกรณ์ที่ส่งออกข้อมูลในรูปของการพิมพ์หมึกลงบนกระดาษหรือวัตถุต่างๆ ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ออกมาหลายลักษณะตามความต้องการของผู้ใช้งาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น